พิษวิทยาอาชีพ
หนังสือเผยแพร่โดยมูลนิธิสัมมาอาชีวะ
ชื่อหนังสือ: พิษวิทยาอาชีพ (Occupational Toxicology)
ชื่อหนังสือ
พิษวิทยาอาชีพ (Occupational Toxicology)
เรียบเรียงโดย
มูลนิธิสัมมาอาชีวะ
ครั้งที่พิมพ์
พิมพ์ครั้งที่ 5
วันที่เผยแพร่
3 มกราคม พ.ศ. 2562
จำนวนหน้า
160 หน้า
เกี่ยวกับเนื้อหา
จากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์อย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ปัจจุบันมนุษย์ได้สกัดสารเคมีจากธรรมชาติ และสังเคราะห์สารเคมีชนิดต่างๆ ขึ้นมามากมาย สารเคมีเหล่านี้ถูกนำมาใช้ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม การทำงาน และในชีวิตประจำวันของเรา ในแต่ละวันมนุษย์ยุคใหม่ต้องสัมผัส สูดดม กิน ดื่ม และใช้สารเคมีอยู่แทบจะตลอดเวลา เมื่อมีการใช้สารเคมีมากขึ้น พิษภัยจากสารเคมีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรใส่ใจ
ในวงการอาชีวเวชศาสตร์นั้น ความสนใจในพิษภัยของสารเคมีที่พบจากการประกอบอาชีพ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ผู้ป่วยที่เป็นโรคจากการทำงานจำนวนหนึ่ง มีสาเหตุการเจ็บป่วยมาจากการทำงานสัมผัสกับสารเคมีเหล่านี้นั่นเอง การใช้สารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ส่วนใหญ่มีการใช้ในปริมาณและความเข้มข้นที่มากกว่าการใช้ตามบ้าน หากคนทำงานต้องสัมผัสสารเคมีอันตรายโดยไม่มีการป้องกันที่ดี หรือหากเกิดการรั่วไหลขึ้น จะมีโอกาสเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ค่อนข้างสูง ความรู้เท่าทันถึงพิษภัยของสารเคมีชนิดต่างๆ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้บุคลากรที่ทำงานทางด้านสาธารณสุข สามารถดูแลสุขภาพของคนทำงานได้อย่างปลอดภัย
จากแนวคิดดังกล่าว มูลนิธิสัมมาอาชีวะจึงได้เรียบเรียงหนังสือ “พิษวิทยาอาชีพ” เล่มนี้ขึ้น เนื้อหาภายในหนังสือเป็นการรวบรวมอาการจากพิษของสารเคมีชนิดต่างๆ ที่มักพบมีการใช้บ่อยในการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยเมื่อได้รับพิษจากสารเคมีนั้น
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ นำข้อมูลมาจากฐานข้อมูลพิษวิทยาอาชีพ (Occupational Toxicology Database) หรือเรียกโดยย่อว่าฐานข้อมูล “OCCTOX” ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เผยแพร่แบบสาธารณะอยู่บนเว็บไซต์ของมูลนิธิสัมมาอาชีวะ (www.summacheeva.org) ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้ จะมีส่วนช่วยให้บุคลากรที่ทำงานทางด้านสาธารณสุข เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย นักวิชาการสาธารณสุข หมออนามัย เวชกิจฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่กู้ภัย หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องท่านใดก็ตาม ได้รับประโยชน์จากเนื้อหาของหนังสือ สามารถใช้เป็นส่วนช่วยเหลือในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีให้ปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น บุญกุศลจากการได้เป็นส่วนช่วยเหลือผู้ป่วยให้รอดชีวิต ลดภาวะทุพพลภาพ ไปจนถึงหายจากอาการพิษได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งหมดขอให้ตกเป็นของผู้ที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีจากการประกอบอาชีพทุกท่านโดยทั่วหน้ากัน