แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย

หนังสือเผยแพร่โดยมูลนิธิสัมมาอาชีวะ

ชื่อหนังสือ: แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย (Guideline for Standardization and Interpretation of Pulmonary Function Test by Spirometry in the Occupational Health Setting)

คลิกที่ภาพเพื่อดาวน์โหลด

ชื่อหนังสือ

แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2561 (Guideline for Standardization and Interpretation of Pulmonary Function Test by Spirometry in the Occupational Health Setting, 2018 Version)

เรียบเรียงโดย

มูลนิธิสัมมาอาชีวะ

วันที่เผยแพร่

8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

จำนวนหน้า

92 หน้า

เกี่ยวกับเนื้อหา

การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์นั้น เป็นการตรวจประเมินสมรรถภาพปอดที่ทำได้ค่อนข้างง่าย มีราคาไม่แพง โดยผู้เข้ารับการตรวจไม่ต้องเจ็บตัว และได้ข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการประเมินสุขภาพของคนทำงานอย่างมาก การตรวจนี้จึงได้รับความนิยมนำมาใช้ในงานอาชีวอนามัยในประเทศไทย ทั้งเพื่อวัตถุประสงค์ในการประเมินสุขภาพของคนทำงาน และในแง่การป้องกันโรค

แต่แม้ว่าจะมีการนำการตรวจชนิดนี้มาใช้อย่างแพร่หลายเป็นเวลานานแล้วก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมาการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัยของประเทศไทยนั้น ยังไม่มีแนวทางการตรวจและแปลผลให้อ้างอิงได้อย่างชัดเจน ทำให้ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการทางการแพทย์แต่ละแห่งยังมีแนวทางการดำเนินการที่แตกต่างกันอยู่มาก ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในเรื่องคุณภาพของการตรวจ และการไม่สามารถนำผลการตรวจจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ต่างแห่งมาเปรียบเทียบกันได้ ซึ่งทำให้เกิดความสับสนต่อผู้ดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยที่จะนำผลตรวจไปใช้ต่อ รวมถึงตัวคนทำงานเอง

ด้วยเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว มูลนิธิสัมมาอาชีวะจึงได้จัดทำ “แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2561” ฉบับนี้ขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้เป็นแนวทางแก่ผู้ให้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย ได้ใช้อ้างอิงประกอบการตรวจและการแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ อย่างมีคุณภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

มูลนิธิสัมมาอาชีวะหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2561” ฉบับนี้ จะช่วยเป็นแนวทางให้กับผู้ให้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย ได้ใช้ในการตรวจสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัยอย่างมีคุณภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้ระบบการดูแลสุขภาพของคนทำงานในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป