แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูง

หนังสือเผยแพร่โดยมูลนิธิสัมมาอาชีวะ

ชื่อหนังสือ: แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูง (Guideline for Health Examination of Height Workers)

คลิกที่ภาพเพื่อดาวน์โหลด

ชื่อหนังสือ

แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูง พ.ศ. 2562 (Guideline for Health Examination of Height Workers, 2019 Version)

เรียบเรียงโดย

มูลนิธิสัมมาอาชีวะ

วันที่เผยแพร่

5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

จำนวนหน้า

40 หน้า

เกี่ยวกับเนื้อหา

การทำงานบนที่สูงเป็นงานที่มีอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างยิ่ง การขึ้นที่สูงลูกจ้างจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง และอยู่ภายใต้การดูแลตามมาตรการด้านความปลอดภัยจากนายจ้างอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามด้วยลักษณะของงานที่มีอันตรายสูง ทุกๆ ปี ในประเทศไทยจึงยังพบรายงานการเสียชีวิตและเจ็บป่วยจากการทำงานชนิดนี้อยู่เสมอ การตรวจประเมินสุขภาพคนทำงานที่จะขึ้นไปทำงานบนที่สูง เพื่อพิจารณาให้ผู้ที่มีความพร้อมของสุขภาพร่างกายและจิตใจเพียงพอเท่านั้นเข้าไปทำงาน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ การสูญเสียชีวิตและเจ็บป่วยลงได้ กฎหมายด้านแรงงานของประเทศไทยเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูงมีกล่าวไว้ในกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551, มาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง (มปอ. 101: 2561) โดยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง ได้มีการกำหนดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายจากการทำงานบนที่สูงด้วยวิธีการต่างๆ แล้วนั้น แต่ในประเทศไทยยังไม่เคยมีแนวทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวกับเรื่องการตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูงมาก่อน ด้วยเหตุนี้ทางมูลนิธิสัมมาอาชีวะจึงได้จัดทำ “แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูง พ.ศ. 2562” ฉบับนี้ขึ้น มุ่งหวังเพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับแพทย์ผู้ทำการตรวจสุขภาพ และสถานประกอบการต่างๆ ได้ใช้อ้างอิงในการดำเนินการตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูงในประเทศไทยได้อย่างมีมาตรฐาน มีการตรวจและแปลผลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มูลนิธิสัมมาอาชีวะหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “แนวทางการตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูง พ.ศ. 2562” ฉบับนี้ จะเป็นแนวทางที่ช่วยให้การตรวจสุขภาพคนทำงานบนที่สูงในประเทศไทย มีการดำเนินการอย่างมีคุณภาพ อันจะนำไปสู่การลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและเจ็บป่วยของคนทำงานได้อย่างเหมาะสมต่อไป